แรงบัลดาลใจในการออมเงิน

222

ข้อมูล การสร้างแรงบันดาลใจ จาก : https://www.krungsri.com/bank/th/KrungsriGuru/Money-Tips/201506/17247.html

ภาพประกอบ การตูน จาก : https://kanyarat102.wordpress.com/free-style-2/532-2/Dek-D.com และhttps://www.google.co.ะ้/search?q=%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%th และ http://www.seesketch.com

ความรู้รอบตัว รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม พรบ คอมพิวเตอร์

ความรู้รอบตัว รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม

รู้แล้วก็หยุดทำซะ!!!!!   เหตุการที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ที่มีการส่งข้อควาลูกโซ่บน E-mail หรือ facebook การส่งข้อความลูกโซ่ การแชร์ ข้อความลูกโซ่ เพียงเพื่อความสนุก หรือ สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น รบกวนแก่ผู้อื่น หรือการแชร์ภาพู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาติ หรือการโฟสข้อความหมิ่นประมาท ผู้อื่น โดยระบุตัวตน ลงโซเชียลของคุณ  คุณอาจมีความทำผิด ฐาน พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550 มีสิทธิ์โดนปรับ

11880202_691350084304343_1741221506_n

ตัวอย่าง ข้อความลูกโซ่

4g555Image.aspx

ขออภัยในความ ไม่สุภาพบางตอนของข้อความในภาพ

ขอบคุณข้อมูลจาก :เพจแจ้งข่าวสารอ่างทอง

ขอคุณภาพจาก : www.manager.co.th และ   www.thailandsusu.com

                             

 

บทบาทของครูในครูในยุคศตวรรษ ที่ 21

ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก(facilitator)    ครูเป็นผู้แนะแนวทาง(guide/coach)

ครูเป็นผู้ร่วมเรียนรู้/ร่วมศึกษา (co-learner/co-investigator)

ครูในยุคศตวรรษ ที่ 21 คือ ครูในยุคโลกาภิวัฒน์ จะต้องมีความรู้กว้างไกลในเทคโนโลยี โลกสมัยใหม่เต็มไปด้วย it ครูจะล้าหลังเป็นเต่าสองพันปีไม่ได้ จะต้องพัฒนาแบบก้าวกระโดดจึงจะทันโลกยุคใหม่ นวัตกรรมจึงเป็นเครื่องมือของครูยุคใหม่ ที่จะต้องพัฒนาตนเองในด้านเทคโนโลยี วิชาการ เพื่อนำนวัตกรรมไปพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้นและยังถือได้ว่า ครูเป็นผู้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ

บทบาท ของครู ศตวรรษ ที่ 21 คือการช่วยเตรียมให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการปรับตัวเพื่อดำรงชีวิตอยู่อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะที่เป็นไปของสังคม ครูคือผู้ที่ต้องช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้สูงสุดเท่าที่เป็นไปได้หรือกล่าวอีกอย่างว่าต้องช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพของเขา อาจสรุปบทบาทหน้าที่ของครูในยุคใหม่ได้ คือ ต้องสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึงการที่ครูทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุนให้ผู้เรียนพัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพของเขาโดยสอดคล้องกับความจำเป็นเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมยุคใหม่และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะความรู้และเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วและล้าสมัยเร็วผู้คนในยุคใหม่ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา ครูจะต้องฝึกนิสัยให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้ปรับเปลี่ยนความคิดได้ง่าย มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและสอนวิธีเรียนมากกว่าสอนเนื้อหา เพราะเนื้อหาในยุคสมัยนี้จะมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้อย่างพอเพียง และข้อมูลและเนื้อหาก็เปลี่ยนแปลงเร็วทำให้การจดจำเนื้อหาความรู้เป็นสิ่งที่ใช้ได้และมีประโยชน์น้อย

ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องมีความคิดที่กว้างไกลมีการใช่สื่อเทคโนโลยีในการสอน  และควรคำนึงถึงวัยของผู้เรียนและความเข้าใจในสื่อที่จะนำมาถ่ายทอด อย่างเช่นสื่อสำหรับเด็กอนุบาลก็ควรจะต้องมีสิ่งที่ดึงดูดความสนใจ เพราะเด็กจะมีสมาธิสั้นก็ควรจะมีการใช้ภาพเคลื่อนไหวหรือการ์ตูนต่างๆ เพื่อให้เด็กมีไหวพริบปฏิภาณที่ดี สำหรับเด็กประถมก็ควรจะหาสื่อการเรียนการสอนที่ยากมาอีกหน่อย อย่างเช่นเกมส์ และเด็กในวัยนี้สามารถเรียนการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้ และเด็กมัธยมต้นก็ควรจะหาสื่อที่ยากกว่านี้คือการเรียนที่ทันสมัยขึ้นมาอีกหน่อย เพราะเด็กในวัยนี้มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีมาก อาจจะให้เด็กสมัคร E-mail เป็นของตัวเองเพื่อส่งงานให้กับคุณครูผู้สอนส่วนเด็กมัธยมปลายก็ควรจะใช้สื่อ PowerPoint ในการเรียนการสอน

ครูในศตวรรษที่ 21  จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน เพื่อจะได้นำความรู้มาถ่ายทอดให้กับนักเรียน และใช้สื่อเทคโนโลยีต่างๆที่ทันสมัยมาถ่ายทอดให้กับนักเรียน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนให้มากที่สุด

 

บทบาทของผู้เรียนในศตวรรษ ที่ 21

                           สามารถทำงานร่วมกับคนเยอะ ได้อย่างรวดเร็ว รับผิดชอบงานได้ด้วยตนเอง และรู้จักพลิกแพลงกระบวนการแก้ไขปัญหาได้     เด็กไทยยุคใหม่ต้องมีทักษะด้านภาษา และ ไม่ควรจำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะประเทศไทย เพื่อมองหาโอกาสใหม่ ๆ ที่มีอยู่อย่างมากมาย

๑. มีคุณธรรมกำกับใจ เป็นคนดีมีน้ำใจ เอื้อเฟื่อ เผื่อแผ่

๒. เป็นผู้มีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความเพียรพยายามที่จะแสวงหา ความรู้ให้ถึงสุดขอบความรู้ที่สามารถเข้าถึงได้

๓. สามารถใช้ภาษาไทยและ ภาษาต่างประเทศอย่างน้อย ๒ ภาษาได้อย่างเชี่ยวชาญ

๔. มีพื้นฐานและทักษะการคำนวณที่ดี และมีความชำนาญใน การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ

๕. สามารถเล่นดนตรีและกีฬาเป็นอย่างน้อย ๑ ชนิด

๖. สามารถจัดการใจและมีวิธีคิดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

๗. พร้อมเผชิญปัญหาและสามารถเลือกวิธีแก้ปัญหาได้อย่าง เหมาะสม

บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศในการช่วยจัดการศึกษาการเรียนการสอน

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้สอดคล้องกับยุคปฏิรูปการศึกษาตามระบบการศึกษา ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย จะส่งผลดีดังนี้

  1. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดกิจกรรมและพัฒนาการเรียนการสอน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญนั้นจะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยฝึกการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เพื่อนำความรู้และองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นไปใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคมได้
  2. การจัดระบบเครือข่ายการเรียนรู้ที่ให้มีแหล่งความรู้ที่หลากหลาย
  3. การปรับกระบวนการเรียนการสอน โดยเน้นให้ครูเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกและชี้แนะให้ผู้เรียนทำการศึกษาค้นคว้าคิดและตัดสินใจด้วยตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่ายการเรียนรู้เป็นเครื่องมือ ขณะเดียวกันครูต้องเป็นต้นแบบด้านคุณธรรม และจริยธรรมด้วย ซึ่งต้องปลูกฝังทั้งในชั่วโมงเรียนและกิจกรรมการฝึกปฏิบัติ
  4. ส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยโดยการประสานกับชุมชนและท้องถิ่นในการพัฒนาการเรียนการสอนตามอัธยาศัยเน้นการค้นคว้าและทักษะการสืบค้น

ที่กล่าวมาเป็นแนวความคิดในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยพัฒนาการศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย ข้อจำกัดในด้านสถานที่ เวลา และด้านอื่นๆ จะไม่เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้อีกต่อไป โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ ปัจจุบันการศึกษาก้าวเข้าสู่โลกแห่งเทคโนโลยี การจัดการเรียนการสอนเช่น รูป e-learning   ห้องสมุดอีเลคทรอนิคส์  การเรียนทางเว็บ  การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น ซึ่งต้องสนองตอบการศึกษาได้ทุกรูปแบบทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย ตลอดจนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยไม่จำกัดเวลาและเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้

 

แหล่งที่มา : learners.in.th

http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=33&id=20833

http://social.obec.go.th/node/28

 

ความรู้ทั่วไป พรบ.คอมพิวเตอร์

รู้ไว้ใช่ว่า. พรบ.คอมพิวเตอร์
ความผิดใน พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550 ที่เราไม่คาดคิด!! ว่าจะเสี่ยงติดคุก

1.ส่งอีเมล์หรือข้อความลูกโซ่: แนวๆ ประมาณว่า ให้ส่งต่อไปอีก 7 คน ไม่งั้นเราจะ… นั่น นี่ โน่น !! ไม่ว่าจะทางดีหรือร้าย ก็เข้าข่ายสร้างการรบกวนให้ผู้อื่น มีสิทธิ์โดนปรับไม่เกิน 100,000 บาท

2.การนำรูปผู้อื่นไปแชร์: ไม่ว่าจะแชร์รูปใคร ทั้งเพื่อน คนรู้จัก ดารา นักการเมือง หรือใครก็แล้วแต่ หากเรานำไปแชร์ หรือดัดแปลง ทำให้ผู้อื่นเสียหาย หรือได้รับความอับอาย มีความผิดและมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

3.โพสข้อความด่า: การโพสข้อความด่าหรือจงใจกล่าวหา ใส่ร้ายผู้อื่น มีความผิดและมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

4.แชร์สื่อลามก: การแชร์ข้อมูลที่ลามก หรือสื่อให้เห็นถึงเนื้อหนัง ใต้ร่มผ้า มีความผิดและมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

ที่มา แนะแนวการศึกษาและอาชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี สำหรับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21

โดย ดร.อนุชา โสมาบุตร

ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information, Media and Technology Skills) ได้แก่ องค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้

1) การรู้เท่าทันสารสนเทศ (Information Literacy) ประกอบด้วย

1.1) การเข้าถึงและการประเมินสารสนเทศ (Access and Evaluate Information) โดย (1) เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ด้านเวลา) และเกิดประสิทธิผล (แหล่งข้อมูลสารสนเทศ) และ (2) ประเมินสารสนเทศได้อย่างมีวิจารณญาณตามสมรรถนะที่เกิดขึ้น

1.2) การใช้และการจัดการสารสนเทศ (Use and Manage Information) โดย (1) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้สารสนเทศอย่างสร้างสรรค์และตรงกับประเด็นปัญหาที่ เกิดขึ้น (2) จัดการกับสารเทศได้อย่างต่อเนื่อง จากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่มากมายหลากหลาย และ (3) มีความรู้พื้นฐานที่จะประยุกต์ใช้สารสนเทศตามกรอบแห่งคุณธรรมจริยธรรมที่มี ปัจจัยเสริมอยู่รอบด้าน

2) การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) ประกอบด้วย

2.1) ความสามารถในการวิเคราะห์สื่อ (Analyze Media) โดย (1) เข้าใจวิธีการใช้และการผลิตสื่อเพื่อให้ตรงกับเป้าประสงค์ที่กำหนด (2) สามารถใช้สื่อเพื่อตอบสนองต่อความแตกต่างของปัจเจกชน รู้คุณค่าและสร้างจุดเน้น รู้ถึงอิทธิพลของสื่อที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคสื่อ และ (3) มีความรู้พื้นฐานที่จะประยุกต์ใช้สื่อได้ตามกรอบแห่งคุณธรรมจริยธรรมที่มี ปัจจัยเสริมอยู่รอบด้าน

2.2) ความสามารถในการผลิตสื่อสร้างสรรค์ (Create Media Products) โดย (1) มีความรู้ความเข้าใจต่อการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์และเหมาะสมตามคุณลักษณะ เฉพาะของตัวสื่อประเภทนั้นๆ และ (2) มีความรู้ความเข้าใจต่อการใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสนองต่อความแตกต่างในเชิงวัฒนธรรมอย่างรอบด้าน

3) การรู้ทันไอซีที (ICT: Information, Communication and Technology Literacy) ประกอบด้วย

3.1) ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี (Apply Technology Efficiency) โดย (1) ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อการวิจัย การจัดการองค์กร การประเมินและการสื่อสารทางสารสนเทศ (2) ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (คอมพิวเตอร์, PDAs, Media Players etc.) ในการสื่อสารและการสร้างเครือข่าย รวมทั้งการเข้าถึงสื่อทางสังคม (Social Media) ได้อย่างเหมาะสม (3) มีความรู้พื้นฐานในการประยุกต์ใช้ ICT ได้ตามกรอบแห่งคุณธรรมจริยธรรมที่มีข้อมูลหลากหลายรอบด้าน

อ้างอิง https://teacherweekly.wordpress.com/

Reflection : innovation and IT

innovation means….

ความหมายของ “นวัตกรรม (Innovation)” โดยทั่วไปหมายถึง “การเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งใหม่ หรือการปรับปรุงจากสิ่งเดิม ที่เกิดจากการนำความรู้ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ไปพัฒนาให้เกิดคุณค่าต่อลูกค้า องค์กร และสังคม” หรือ หมายถึง  “การทำสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิม” แต่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่นั้นก็ไม่จำเป็นต้องขจัดสิ่งที่มีอยู่เดิมออกไป ทั้งหมด แต่อาจเป็นการต่อยอดจากสิ่งเดิมที่มีอยู่มาปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงให้เหมาะ สมกับโอกาสและสภาวะการณ์ เพื่อให้ได้กระบวนการทำงานใหม่ สินค้าใหม่ การบริการใหม่ หรือรูปแบบของธุรกิจใหม่  ที่สามารถสร้างคุณค่าได้เพิ่มขึ้น เป็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและสังคม